วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

เรื่องของ "ภาพโมนาลิซา" ที่บางท่านอาจยังไม่รู้



                                          มาดามลิซา


เรื่องต่อไปนี้เกิดขึ้นมานานมากแล้ว ต้องค่อย ๆ อ่านนะครับ หากจะถามว่า ผมชอบอะไรมากที่สุด คำตอบสั้น ๆ ก็คือ เดินดูรูป  ลูบหรรษา  บ้าหนังสือ  แล้วดูหนังฟังเพลงไปตามเรื่อง บางท่านถึงกับลงทุนเดินทางไปถึงเยอรมัน ก็เพราะอยากจะดูรูปเขียนของ คุณถวัลย์  ดัชนี ที่เจ้าชายเยอรมัน     ผู้ร่ำรวยล้นฟ้ามาอุ้มเอาตัวถวัลย์ไปเขียนไว้ให้เป็นศรีสง่าแก่ปราสาทของท่าน

เมื่อถวัลย์ถามว่าจะให้เขียนรูปอะไร เจ้าชายก็ตอบว่า " เขียนตามใจของคุณก็แล้วกัน...เขียนอะไรก็ได้" เล่นเอาถวัลย์มึนตึบต้องไปนอนก่ายหน้าผาก  คิดแล้วคิดอีกอยู่เจ็ดวันเจ็ดคืนกว่าจะตกลงใจได้ว่า  ควรจะเขียนอะไรจึงจะสมกับที่เป็นผลงานของจิตรกรไทยผู้นับถือศาสนาพุทธ  ใครอยากเห็นภาพนี้ของถวัลย์  ต้องไปดูที่ปราสาท  ชล็อส คร็อตทอฟ ใกล้ ๆ กรุงบอนน์ (หมายเหตุผมก็ไม่เคยไปเหมือนกันกลัวเครื่องของเครื่องบินดับ)

การเขียนภาพนั้นเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ศิลปอย่างหนึ่งของมนุษย์  ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณตอนที่มนุษย์ยังอยู่ในถำ  สมัยกรีกและโรมันก็มีรูปเขียนและรูปปั้นเยี่ยม ๆ  การได้เดินดูภาพเขียนสวย ๆ งาม ๆ พวกนี้ อันไหนเราไม่ชอบก็อย่าไปเสแสร้ง  ถึงนักวิจารณ์จะตะโกนว่าดีวิเศษอย่างไร ก็อย่าไปดูมัน  รูปไหนเราชอบ  ก็หยุดพินิจพิศดูให้นานหน่อย  เรียกว่าดูแบบกลืนกินกันเข้าไปเลย... นี่คือความสุขอย่างหนึ่งซึ่งไม่ต้องลงทุนราคาแพง  หากว่าท่านยังไม่มีโอกาสไปดูถึงปารีส จะใช้วิธีซื้อหนังสือรวมภาพเหล่านี้มานอนดูเล่นไปพลาง ๆ ก่อนก็ยังได้

ในบรรดาภาพเขียนมีชื่อทั้งหลายของนานาชาติทั่วโลกนั้น  เห็นจะไม่มีภาพไหนโด่งดังและงดงามเท่ากับ "โมนาลิซา" ของ ลีโอนาโด  ดาวินซี  (คนอิตาลีออกเสียงเป็น  ดาวินชี) ทั้งไทยจีนพม่ารามัน อ้อ! เดี๋ยวจะลืมพวกฝรั่งรู้จักภาพนี้กันทั่วหน้า บางคนคนถึงกับเอาไปตั้งชื่อลูกสาวก็มี พอลูกสาวแก่ตัวลงไม่รู้จะเรียกชื่อลูกสาวว่าอย่า่งไร

ภาพ "โมนาลิซา" นี้  ผมเคยได้ยินกิตติศัพท์ชื่อเสียงมานานและเคยได้เห็นรูปถ่ายในหนังสือมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน  จนจำได้ติดตา  ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ที่ปารีส ต้องยอมรับว่าในภาพยิ้มของเธอมีเสน่ห์รัดรึงใจอย่างประหลาด (เขาว่ากันไป) มีผู้เล่าว่าเคยมีคนอิตาเลียนกะโกนใส่ในขณะที่มีคนหลายชาติยืนชมภาพโมนาลิซาในพิพิธภัณฑ์อย่างรุนแรงว่า " เลวระยำ ! นี่มันเป็นภาพของอิตาลีนี่หว่า....เขียนโดยศิลปีนอิตาลี...เป็นสมบัติของอิตาลี  ควรจะอยู่ที่อิตาลี...เจ้านะโปเลียนตัวดีใช้อำนาจไปบีบคอปล้นเอาของเรามา...ถึงได้มาตกอยู่ที่ฝรั่งเศสนี่... ทำเงินให้ฝรั่งเศสปีละไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ล้าน...."

เจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัฑณ์เห็นท่าไม่ดี  เลยต้องมาเชิญกระทาชายชาวอิตาเลียนผู้นั้นออกไปเสีย (ความจริงไล่ให้ออกไป) เกรงว่าถ้าขืนปล่อยให้เจ้าหมอนั่นระเบิดอารมณ์ฟพลุ่งพล่านต่อไป อาจ
กระโดดเข้าเตะหรือเอามีดกรีดเสียหายได้ (นี่แค่ภาพนะ บ้านเราเขาพระวิหารทั้งลูกยังเสือกยกให้เขมรจัญไรจริง ๆ )


นางแบบที่มานั่งให้ ลิโอนาโด ดาวินซี  วาดภาพนี้คือ มาดามลิซา  ภรรยาคนที่สามของ Francesco del Qiocondo ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวัวพันธุ์สวีสและหนังแกะดิบ (นี่ก็แสดงว่า มาดามลิซามีสามีแล้วเป็นภรรยาน้อยรำดับสามด้วย) เวลาเธอมาที่สตููดิโอเธอมาคนเดียว สามีไม่ได้คุมมาด้วย


ปกติเธอสวยหยาดฟ้าอยู่แล้ว  ไม่งั้นศิลปินเอกอย่าง ลิโอนาโด ดาวินซี  คงไม่เลือกเอามาเป็นนางแบบ  ขั้นตอนในการวาดภาพก็ยุ่งยากพอสมควร  แต่เพื่อให้ได้อารมณ์และยิ้มของเธอรัญจวนใจยิ่งขึ้น และมีการสร้างบรรยากาศให้ชื่นมื่น  ขณะที่นางแบบนั่งให้วาดนั้น มีน้ำพุเริงระบำอยู่ข้างหลังและแวดล้อมด้วยดอกไอริส (สีม่วง) และดอกลิลลี่ (สีขาว) แถมมีนักดนตรีมาขับกล่อมนางอยู่ด้วย เรื่องอาหารการกินไม่ได้กล่าวถึง ลองนึกดูเถิดว่าจะโรแมนติกสักเพียงใด เพราะเขาวาดก็เฉพาะยามโพล้เพล้เท่านั้น

ศิลปินเอกใช้เวลาวาดภาพนี้อยู่ถึงสามปี  แต่ยังไม่จุใจ  เขายังนั่งยันยืนยันอยู่เสมอว่าภาพนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ง่าย ๆ  จะไปไหนก็ต้องหอบเอาไปด้วย  เพื่อคอยแก้ไขเสริมตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อย

ผู้ที่ว่าจ้างให้วาดได้แก่  พระเจ้าฟรานซิสที่ ๑ แห่งฝรั่งเศส โดยตกลงค่าจ้างกัน สี่พันเหรียญทองฟลอรินส์  พระเจ้าฟรานซิสที่ ๑ ทรงโปรดรูปนี้มาก พอได้ไปแล้วก็เอาไปแขวนในห้องสรงน้ำ
ต่อมาภายหลังภาพนี้ได้ไปแขวนแสดงอยู่ในหอศิลปที่อิตาลีเพราะถือกันว่าเป็น "เพชรน้ำเอก"

ของชาติอิตาลี  จนกระทั้งนะโปเลียน (บางครั้งก็เขียน นโปเลียน) โบนาปาร์ต กรีฑาทัพเข้าไปในอิตาลี ได้ไปเห็นภาพนี้เข้า เลยใช้อำนาจคว้าเอาไป (จริง ๆแล้วขโมยมากว่า) และเอาไปแขวนไว้ในห้องบรรทมของพระองค์ (อยากจะเป็นเจ้ากับเค้าเหมือนกันสุดท้ายก็ตายหยั่งขอทานเศร้าใจจริง ๆ เหมือนใครบางคน) ตอนหลังจึงตกมาเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ในกรุงปารีส ยิ้มเรียกนักท่องเที่ยวเอาเงินเข้าประเทศฝรั่งเศสเป็นการถาวร เรื่องนี้ยังไม่จบแค่นี้นะครับ แต่เอาไว้เขียนคราวหน้าอีกสักตอน  ว่าภาพ โมนาลิซา ได้ อันตรธาน ไปจาก พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ในกรุงปารีสได้อย่างไร

                                                     เลโอนาร์โด ดา วินชี


                                                       โมนาลิซา



                                                        โมนาลิซา


                                    _______________________________

Sampan Chanpa












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น