เรื่องทุกเรื่องเป็นอดีตไปหมดแล้ว เกิดจากความจำ เกิดจากอารมณ์ขำ อ่านแล้วไม่เครียด อ่านแล้วขำลึก ๆ นึกขึ้นมาที่ไรก็เบิกบานทุกครั้ง
วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557
เรื่องของข้าว
เรื่องของข้าว
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการจำนำข้าว ของรัฐบาล กำำมะลอ Bogus แต่เป็นข้าวในสมัยพุทธกาล ข้าวนอกจากเป็นอาหารหลักของคนไทยแล้ว แม้แต่ชาวต่างชาติำก็หันมานิยมรับประทานข้าวกันมากขึ้น ข้าวในสมัยพุทธกาลเราพอแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด คือ ข้าวมธุปายาสและข้าวยาคู "ข้าวมธุปายาส" เป็นข้าวที่หุงด้วยน้ำนมเจือน้ำผึ้ง หรือบางที่ก็ใช้น้ำอ้อย มีลักษณะเป็นข้าวเปียก ตามพุทธประวัติกล่าวว่า นางสุชาดาเป็นคนแรกที่ปรุงข้าวมธุปายาสมาถวายพระสิทธัตถะก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาปรุงนี้มาจากน้ำนมที่เข้มข้นเป็นพิเศษของแม่โค และน้ำผึ้งที่คั้นสด ๆ จากรวงของผึ้ง แต่เดิมนั้นนางสุชาดาจะหุงข้าว
มธุปายาสไปถวายเทวดาเพื่อแก้บน แต่เมื่อมาพบพระสิทธัตถะ ซึ่งมีลักษณะงามราวกับเทวดา จึงได้ถวายข้าวมธุปายาสแก่พระสิทธัตถะแทน
สำหรับ "ข้าวยาคู" เป็นคำเรียกข้าวต้มหรือขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวอ่อน ในสมัยพุทธกาลจะแช่ข้าวหรือธัญพืชชนิดอื่นในน้ำในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑๖ แช่ทิ้งไว้จนเปลือกธัญพืชเหล่านั้นอ่อนตัว จึงนำมาเคี่ยวให้เหลือเพียงครึ่งเดียว ตามพุทธประวัติกล่าวถึงข้าวยาคูไว้ว่า มีพราหมณ์ผู้หนึ่งหุงข้าวยาคู และทำขนมหวานมาถวายพระพุทธเจ้า และพระสาวกโดยที่ขนมอื่น ๆ นั้นเป็นขนมหวานส่วนข้าวยาคูไม่มีรสหวาน ในวินัยพระไตรปิฏก และพระสูตรอังคุตตรนิกาย กล่าวถึงประโยขน์ของข้าวยาคูไว้ ๕ ประัการ คือ ช่วยบรรเทาความหิว ช่วยบรรเทาความกระหาย และทำให้ลมเดินสะดวก ช่วยชำระลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร
เรื่อง "ข้าว" ในสมัยพุทธกาลอีกชนิดหนึ่ง คือ "ข้าวต้มลูกโยน" เป็นชื่อขนมอย่างหนึ่งทำจากข้าวเหนียวผัดกับน้ำกะทิที่ผสมเกลือ และน้ำตาลห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตยเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม มียอดแหลม และไว้หางยาวที่ปลายยอดแล้วนำไปต้มให้สุก เหตุของการห่ออาหารด้วยใบมะพร้าวหรือใบเตยแล้วไว้หางนั้นเนื่องมาจากครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงษ์ เมื่อออกพรรษาก็เสด็จลงมาทางบันไดแก้ว แต่ประชาชนจำนวนมากที่มาเฝ้าตักบาตรไม่สามารถเข้าถึงพุทธองค์ได้จึงจับหางของห่ออาหารหรือขนมทั้งหมดนี้โยนไป เพื่อจะได้ให้ตกลงสู่บาตรของพระพุทธองค์
___________________
สัมพันธ์ จันทร์ผา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น