เรื่องทุกเรื่องเป็นอดีตไปหมดแล้ว เกิดจากความจำ เกิดจากอารมณ์ขำ อ่านแล้วไม่เครียด อ่านแล้วขำลึก ๆ นึกขึ้นมาที่ไรก็เบิกบานทุกครั้ง
วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ความสะเหร่อของแหม่มแอนนา
ความสะเหร่อของแหม่มแอนน่า
ไปได้หนังสือเก่าจากแผงหนังสือที่ไม่มีใครจะสนใจนัก เพราะเห็นแต่ผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาที่บริเวณตลาดนัดวันพุธที่กำแพงเพชร มาอ่านแก้เซ็งเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนั้นชื่อว่า The
Ramanee of a Harem ซึ่งเป็นหนังสือที่ นางแอนนา เลียวโนเวนส์ เขียนขึ้นมาแหกตาให้คนยุโรปและอเมริกาอ่าน ในสมัยเกือบสองร้อยปีก่อน ได้อ่านกันอย่างสุดมันส์ !!!!!!
นางแอนนา เลียวโนเวนส์ หรือแหม่ม แอนนา คนนี้ตามประวัติดังเดิมนั้นเป็นเมียนายทหารอังกฤษยศร้อยเอก ซึ่งเมื่อสามีได้รับคำสั่งให้มาปฏิบัติราชการที่สิงคโปร์ นางก็หอบหิ้วเอาบุตรชายวัยสองขวบติดติดตามมาอยู่กับสามี และอยู่มาได้เพียงไม่เท่าใด นายร้อยเอกเลียวโนเวนส์ ก็ถึงแก่กรรมลงด้วยโรคปัจจุบัน ทิ้งให้เมีย สาวแสนสวยต้องกลายเป็น
แม่ดอกกระดังงาลนไฟ ให้หมู่ภมรน้อยใหญ่พากันมาแวดเวียนเพื่อหวังจะได้ดอมดม
จวนเจียนจะเกิดการจลาจลขึ้นในบรรดาหมู่เมียนายทหาร ก็พอดีนายพลเรือที่เป็นผู้บัญชาการทหารอังกฤษที่สิงคโปร์ ได้ทราบวี่แววมาว่าพระเจ้ากรุงสยามมีพระราชประสงค์ที่จะจ้างสตรีชาวอังกฤษที่มีวัยอันสมควร ไม่มีภาระผูกพันทางครอบครัว และที่ได้รับการศึกษามาพอสถานประมาณ เข้าไปถวายพระอักษรให้แก่พระราชโอรสและพระราชธิดาที่พระบรมมหาราชวัง ในกรุงเทพมหานคร จึงคิดตัดไฟต้นลมโดยการเรียกนางแอนนา เข้าไปแนะนำว่าควรจะสมัครเข้าไปทำหน้าที่ดังกล่าวกับกงศุลไทย
โดยให้คำรับรองว่าถ้านางแอนนา ตกลงใจที่จะรับทำ ตัวท่านนายพลก็จะเป็นผู้รับรองกับ
รัฐบาลไทยให้ด้วยตนเอง นางแอนนา เห็นเป็นโอกาสดีก็รีบฉวยเอาไว้ทันที และเมื่อมีบุคคล
ระดับผู้บังคับบัญชาการทหารเป็นผู้ให้การรับรองเช่นนี้แล้ว นางแอนนา ก็ได้เดินทางเข้ามารับราชการใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในเวลา ๓ เดือนต่อมาการไปจากเกาะสิงคโปร์ของนางแอนนา ในครั้งนั้น ลือกันว่าบรรดาภรรเมียของนายทหารอังกฤษที่สิงคโปร์ต่างก็หายใจโล่งอกไป....ตาม ๆ กัน
ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคยเห็นตัวจริงของนางแอนนา มานั้น ได้เล่าว่าในขณะที่เข้ารับ
ราชการอยู่ที่กรุงเทพมหานครนัั้น นางแอนนาไม่ได้รับสิทธิพิเศษใด ๆ ทั้งไม่เคยมีโอกาส
ได้รับราชการใกล้ชิดในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ถึงขนาดเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
อย่างที่ นางแอนนา ได้คุยกร่างเอาไว้ในหนังสือที่ตนเองกลับไปเขียนขึ้นทั้งสองเล่ม คือ
หนังสือเรื่อง The English Governess at the Siamese Court กับเรื่อง The Romance
of a Harem สำหรับเรื่องหลังคือเรื่อง The Romance of a Harem ซึ่งเป็นเรื่องของความ
ตอหลดตอแหลโดยเฉพาะเรื่องราวของเจ้าจอมทับทิม กับ พระปลัด นั้น เป็นเรื่องที่น่า
จะเก็บเอาความสะเหร่อของนางแอนนา มาทำเป็นบันทึกให้ได้อ่านกันสักครั้ง !!!!!!!!
เจ้าจอมทับทิมในจินตนาการของนางแอนนานั้น มีรูปลักษณะไม่ผิดอะไรกับนางเอกจอมซนคนสวยของฝรัง คือไม่มีลักษณะเป็นนางเอกของไทยเลยแม้แต่น้อย นางแอนนา เล่าว่า
เมื่อเจ้าจอมทับทิมมีอายุ ได้เพียง ๑๕ ปี ก็รักใคร่ได้เสียกับ นายแดง คนบ้านเดียวกัน ในปี
ต่อมาคือเมื่อมีอายุได้ ๑๖ ปี เจ้าจอมทับทิม และนายแดง ผู้เป็นสามีถูกเกณฑ์ไปทำงานขนอิฐ
ขนหินในการก่อสร้าง วัดราชประดิษฐ์ และเมื่อสมเด็จพระจอมเกล้าเสด็จไปทรงตรวจงาน ก็
ทอดพระเนตรไปเห็นเจ้าจอมทับทิมเข้า จึงตรัสถามข้าราชบริพารที่ติดตามพระองค์ไปว่า
เด็กสาวหน้าตาดีคนนั้นเป็นลูกเต้าเหล่าใคร และเมื่อทรงได่รับคำตอบแล้วก็มิได้ทรงตรัสอย่างไรอีกต่อไป นางแอนนา เล่าต่อไปว่าการที่พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแสดง ความสนพระราชหฤทัย
ในตัวเด็กสาวคนนี้ ทำให้พวกข้าราชบริพารที่อยากได้ความดีความชอบ ได้พยายามใช้เลห์
กระเทห์พรากเอา+ตัวเจ้าจอมทับทิม จากนายแดงผู้เป็นสามี เข้าไปถวายต่อในหลวงโดยช่วยกันปกปิดความลับที่ว่าเธอได้เป็นเมียของชายอื่นแล้ว
ส่วนนายแดงเมื่อถูกพรากเอาเมียไป ก็หมดปัญญาที่จะหาทางแก้ไข จะฟ้องร้องเอากับใครก็ไม่กล้า เศร้าโศกเสียใจมาก ๆ เข้าก็เลยตัดสินใจไปบวชเป็นพระ ซึ่งนางแอนนาได้แสดงความสะเหร่อบริสุทธิ์ออกมาว่า พระแดงนั้นเมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจเล่าเรียนพระธรรมวินัย
และหลักพระพุทธศาสนาอย่างขะมักเขม้น ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนก็แตกฉาน จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระปลัด นางแอนนาบอกว่าคำว่า ปลัด นั้นสกตเป็นภาษาอังกฤษว่า Balat มี
ความหมายตรงกับคำว่า Wonderful ในภาษาอังกฤษ การแปลคำว่า ปลัด เป็นคำว่า Wonderful นั้น เป็นการดำน้ำแปลครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดที่ผมเองก็ไม่เคยเห็นแปลไปได้อย่างไร
นางแอนนา เล่าถึงรูปลักษณะของเจ้าจอมทับทิม ว่าเป็นผู้หญิงไทยทีมีความงามอย่างน่าพิศวง เมื่อได้เข้ามาเป็นเจ้าจอมแล้วก็แต่งกายด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงาม สวมแหวนครบนิ้วและสวมสายสร้อยทอง ทาริมฝีปากด้วยน้ำหมากสีแดงก่ำ เขียนคิ้วยาวด้วยหมึกสีดำ ส่วน
ขนตานั้นงอนยาวตามธรรมชาติอยู่แล้ว ส่วนนิสัยใจคอนั้น นางแอนนาเล่าว่า เจ้าจอมทับทิม
เป็นเป็นเด็กสาวที่แก่นแก้วและซุกซน หนีแอบไปซ่อนตัวอยู่ตามห้องเล็กห้องน้อย ในพระบรม
มหาราชวัง หากมีพระราชประสงค์จะให้เข้า รับราชการ ก็ต้องวิ่งตามหากันให้วุ่นวาย มีหลายครั้งที่เจ้าพนักงานไปตามตัวพบแล้ว เจ้าจอมทับทิมก็จะพูดจาเบี่ยงบ่าย แกล้งบอกว่าไม่สบาย รับราชการไม่ได้ ฯลฯ ทำให้คุณท้าวผู้ใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ส่งตัวนางสนมต้องเดือดเนื้อ
ร้อนใจเพราะ ถ้าส่งตัวเจ้าจอมทับทิม ไม่ได้ดังประสงค์ก็จะถูกในหลวงทรงตัดรอนเอาว่ามีความอิจฉาริษยาเด็ก เกรงว่าเด็กจะได้ดีกว่าตน
นางแอนนายังเล่าอีกว่าเจ้าจอมทับทิมได้มาสมัครเป็นลูกศิษย์เรียนภาษาอังกฤษกับตนด้วย
นางจำได้ว่าเจ้าจอมทับทิมเคยขอร้องให้นางเขียนคำว่าพระปลัดเป็นภาษาอังกฤษ และเมื่อนางสะกตให้แล้ว เจ้าจอมทับทิมก็ลอกตัวอักษรเหล่านั้นลงในกระดาษหลายแผ่นอย่างคนใจลอย หรือเหมือนคนถูกสะกตจิต
และแล้ววันอัปมงคลก็มาถึง ในตอนสายของวันหนึ่งคุณท้าวผู้ใหญ่ก็ได้รับรายงานว่า
เจ้าจอมทับทิมได้หายตัวไปตั้งแต่เช้า ได้มีการค้นหากันทุกซอกทุกมุมของ พระบรมมหาราชวัง แต่ก็ไม่ปรากฏวี่แวว ไม่มีใครทราบว่าเจ้าจอมทับทิมหายไปไหน และหายไปได้อย่างไร การหายตัวไปของเจ้าจอมทับทิมในครั้งนี้ เมื่อความทราบถึง พระกรรณของในหลวง
ก็โปรดให้ตั้งรางวัลนำจับตัวเจ้าจอมทับทิมเป็นเงินสูงถึง ๒๐ ชั่ง (บางท่านอาจจะลืมไปแล้วว่าเงิน ๑ ชั่ง สมัยนั้นเท่ากับเงินบาทสมัย นี้เท่าใด ผมเคยท่องมาตราเงินไทยสมัยเป็นนักเรียนดังนี้ครับ สี่สลึง เป็น หนึ่ง บาท สี่บาท เป็น หนึ่งตำลึง ยี่สิบตำลึง หรือ แปดสิบบาท เป็น หนึ่งชั่ง)
๑ ชั่ง ก็ ๘๐ บาทครับผม ๒๐ ชั่ง ก็มากโขครับ แต่แม้ว่าเวลาล่วงไปหลายเดือนก็ยังไม่มีผู้ใดสามารถสืบรู้ตำแหน่งแห่งหนที่เจ้าจอมทับทิมหลบซ่อนตัว นางแอนนาเล่าว่าเวลายิ่งล่วงเลยไป
มากเท่าใด ในหลวงก็ทรงพระพิโรธเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
แต่เคราะห์กรรมก็มาถึงตัวเจ้าจอมทับทิมเข้าจนได้ มีพระภิกษุสองรูปไปพบเจ้าจอมทับทิม
ซึ่งโกนคิ้วนุ่งห่มสบงจีวรเป็นสามเณรจำวัดอยู่ที่กุฏิของพระปลัดเข้าโดยบังเอิญ จึงรีบนำความมาแจ้งแก่กรมวังผู้ใหญ่ เจ้าจอมทับทิมจึงถูกจับและถูกขังสนมในพระบรมมหาราชวัง
ส่วนพระปลัดก็ถูกจับเหมือนกันแต่ถูกส่งไปขังไว้ ณ คุกมหันตโทษ เพื่อนสนิทของทับทิม
สองคน คนหนึ่งชื่อมะปราง อีกคนหนึ่งชื่อ Simlah ซึ่งก็น่าจะชื่อ ศรีมารา ได้ถูกจับกุมคุมขัง
โทษฐานรู้เห็นเป็นใจและคอยช่วยเหลือให้เจ้าจอมทับทิมได้หลบหนีออกไปจากพระบรมมหาราชวังได้โดยสดวก
ในการพิจารณาคดี นางแอนนาซึ่งคุยโอ่ว่าตนเองเข้าไปนั่งร่วมฟังอยู่ด้วย ได้เขียนเล่าว่า
เมื่อได้มีการซักไซ้ไล่เรึยงกันอย่างละเอียดแล้ว ความจริงก็ปรากฏออกมาว่า เจ้าจอมทับทิมได้
หนีออกจากพระบรมมหาราชวัง ด้วยการปลอมตัวเป็นเณรปนปลอมไปกับหมู่พระเณรที่เข้ามา
รับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวังในตอนเช้าตรู่
นางแอนนายังเล่าอีกว่าเจ้าจอมทับทิมได้ยืนยันกับศาลว่า ความคิดที่ปลอมเป็นเณรหนีออกไปอยู่กับพระปลัดนั้นเป็นความคิดที่ตนคิดขึ้นมาด้วยตนเอง ไม่มีพระปลัด หรือนางมะปราง นางศรีมาลาได้มาร่วมรู้เห็นเป็นใจกับนางด้วยเลย เธอให้การว่าในวันนั้น เมื่อหลบหนี
ออกจากพระบรมมหาราชวังได้แล้ว ก็ไปอยู่คนเดียวที่หน้าประตูวัด พอตกตอนเย็น
ท่านสมภาร วัดมาพบเข้า เธอจึงเข้าไปกราบกรานขออาศัยอยู่ในวัด ท่านสมภารจึงมอบให้พระปลัดรับเอาตัวไปเป็นภารธุระ เจ้าจอมทับทิมยังให้การต่อไปว่า ถึงแม้เธอจะอยู่ร่วมกุฏิกับพระปลัดผู้เป็นอดีตสามี แต่ก็มิได้สมสู่ร่วมรักกัน พระปลัดไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่่าตนเองเป็นเมียเก่าของตน
นางแอนนาเล่าว่าคำให้การแก้เกี้ยวของเจ้าจอมทับทิมดังเช่นที่กล่าวมานี้ ไม่มีผู้พิพากษา
คนใดเชื่อถือ โดยเฉพาะคำแก้ตัวที่ว่าพระปลัดจำตนเองไม่ได้นั้นเป็นไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด
คนเราเคยเป็นผัวเป็นเมียกันมาก่อน ถึงแม้จะโกนผม โกนคิ้วนุ่งห่มจีวร ถ้าอยู่กุฏิเดียวกัน
ใกล้ชิดกันนานเข้า ก็น่าจะจำกันได้ ยิ่งเวลาจะอาบน้ำอาบท่า การที่จะซ่อนหน้าอกหน้าใจนั้น
ก็ย่อมเป็นของที่กระทำได้โดยยาก คณะผู้พิพากษาจึงลงความเห็นว่า เจ้าจอมทับทิมไม่ยอม
ให้การตามความเป็นจริง แล้วมีมติให้ลงฑัณท์เจ้าจอมทับทิมโดยการโบย ๓๐ ที
เมื่อเห็นเรื่องราวจะไปกันใหญ่ดังนี้ นางแอนนาจึงแสดงความยิ่งใหญ่ของตัวเองออกมา
โดยสั่งการให้ระงับการโบยตีไว้ก่อน แล้วตนเองก็รีบรุดเข้าเฝ้าในหลวงเพื่อขอรับพระราชทาน
อภัยโทษให้แก่เจ้าจอมทับทิม นางแอนนาเล่าว่า แม้ในหลวงกำลังทรงพระพิโรธกริ้วอยู่ แต่ก็
ยังทรงรับฟังคำเตือนพระสติของนางแอนนาทรงรับสั่งให้นางแอนนากลับไปสอนหนังสือไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกับคดีความเรื่องนี้ ส่วนเจ้าจอมทับทิมนั้นทรงรับที่จะลงพระอาญาแต่เพียงถอดออกจากตำแหน่งเจ้าจอม แล้วส่งตัวลงไปเป็นทาสทำงานหนัก ในโรงสีข้าวของหลวง
แต่แล้วนางแอนนาก็กลับกล่าวโทษในหลวงว่าทรงเป็นชาติกษัตริย์ตรัสแล้วกลับคืนคำ
นางแอนนาเล่าว่าพอนางออกจากพระที่กลับมาถึงห้องที่พระเจ้าลูกยาเธอพระเจ้าลูกเธอกำลัง
ทรงพระอักษรอยู่ คณะผู้พิพากษาก็เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลเรื่องเจ้าจอมทับทิม ยืนยันว่าตนเองเป็นผู้กระทำผิดทุกอย่างทุกประการ ส่วนพระปลัดนั้นไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วยแต่อย่างไรทั้งสิ้น คำกราบบังคมทูลของคณะตุลาการทำให้ในหลวงกริ้วขึ้นมาทันทีทันควัน คราวนี้ทรง
พระราชดำรัสสั่งให้นำตัวชายหญิงทั้งคู่มาลงหลักขึงพืด ตรงหน้าพระลานพระบรมมหาราชวัง
เพื่อประจานให้ผู้คนทั้งหลายได้เห็นเป็นที่ประจักษ์
นางแอนนาเล่าว่าเมื่อคนทั้งคู่ถูกนำมาลงหลักขึงพืดอยู่กลางพระลานแล้ว ก็มีการทรมานด้วยวิธีการต่าง ๆ นา ๆ ตัวพระปลัดนั้นถูกทรมานจวนเจียนจะตายแหล่มิตายแหล่ ส่วน
เจ้าจอมทับทิมนั้นเมื่อถูกทรมานหนักเข้า ก็กรีดร้องออกมาอย่าง ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ว่า ฉันก็ไม่ผิด
พระปลัดก็ไม่ผิด พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงทราบ และเมื่อเจ็บปวดจนทนไม่ได้ ก็บิดหน้าไปทางในหลวงเหมือนกับจะวิงวอนขอรับพระราชทานกรุณา คราวใดที่หมดสติลงก็จะถูกเจ้าหน้าที่สาดด้วยน้ำ ปลุกให้ฟื้นขึ้นมาทรมานต่อ
นางแอนนาเขียนว่า ภาพสยองขวัญที่เนื่องมาจากคำสั่งอันโหดเหี้ยมผิดมนุษย์มนาของพระเจ้ากรุงสยามในครั้งนี้ ทำให้นางเป็นลมหน้ามืดหมดสติไปในบัดดล
ต่อเมื่อฟื้นขึ้นมา ก็ปรากฏว่าชายหญิงทั้งคู่ได้ถูกนำออกไปจากท้องพระลานแล้ว นางพยายามถามไถ่ถึงเคราะห์กรรมของชายหญิงทั้งคู่ แต่ทุกคนก็บ่ายเบี่ยงที่จะให้คำตอบ จน
กรทั้งได้พบกับหญิงรับใช้ใกล้ชิดของเจ้าจอมทับทิมชื่อนางพิม นางพิมจึงได้กระซิบบอกให้ฟังว่า คนทั้งคู่โดนทรมานจนใกล้จะตายเต็มทีแล้ว จึงถูกนำไปเผาเสียทั้งเป็นทีป่าช้า
วัด สระเกศ
นางแอนนาเขียนไว้เป็ตุเป็นตะว่า หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น นางรู้สึกหดหู่ใจ เสียใจ และผิดหวังในพระเจ้ากรุงสยาม จึงเก็บตัวไม่ย่อมเข้าเฝ้าหลายเดือน จนกระทั้งวันหนึ่งพระเจ้ากรุงสยามจึงทรงให้หาตัวนางแอนนาให้เข้าเฝ้า เมื่อไปถึงพระเจ้ากรุงสยามตรัสขอโทษ และได้ทรงรับผิดในเรื่องการลงพระราชอาญาเจ้าจอมทับทิมเกินกว่าเหตุ และเพื่อลบล้างความผิด
พระองค์ได้ทรงสั่งให้สร้างสถูปเล็ก ๆ ขึ้นในวัดสระเกศ สำหรับเป็นที่บูชาดวงวิญญาณของ
เจ้าจอมทับทิมและพระปลัด
คนไทยที่อ่านหนังสือเรื่องนี้แล้ว ก็ย่อมลงความเห็นได้ทันที่ว่า เรื่องที่นางแอนนาแต่งขึ้นนี้
เป็นเรื่องมดเท็จทั้งเพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นกษัตริย์ประชาธิปไตยที่ทรงเคารพในสิทธิ ของมนุษยชน
นางแอนนา เลียวโนเวนส์ เข้ามารับราชการในปีพุทธศักราช ๒๔๐๕ ฉะนั้น ก็คงจะ
ไม่ทราบว่า เมื่อเจ็ดปีก่อนหน้านั้น คือ ในปีพุทธศักราช ๒๓๙๘ พระเจ้ากรุงสยามพระองค์นี้
ได้ทรงประกาศ ให้สิทธิแก่เจ้าจอมหม่อมห้ามที่จะเลือกคู่ครองใหม่ได้อย่างอิสระเสรี
ประกาศฉบับนั้นมีข้อความดังนี้
"นับตั้งแต่นี้ต่อไป องค์พระมหากษัตริย์มิได้มีพระราชประสงค์ที่จะกีดกัน หรือกักขังบรรดานางห้ามทั้งหลายดังกล่าวไว้ข้างต้น และยอมให้มีเหย้ามีเรือนหรือมีสามีได้ตามความประสงค์
ทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงยินดีที่จะสนับสนุนส่งเสริมด้วย หากผู้ใดจะไปก็จะให้เงินปีหรือของขวัญอื่น ๆ คือเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัว และเครื่องประดับอื่น ๆ ให้เหมาะสมเกียรติ
นั้น ๆ ........
"บรรดาหญิงใด ๆ ที่เคยรับใช้พระมหากษัตริย์มานานแล้วเห็นว่า อยู่ในพระราชวังนี้ ไม่สะดวกสบายและประสงค์ที่จะลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ เพื่อจะไปอยู่กับเจ้านายองค์ใด
ก็ได้ หรือจะไปอยู่กับบิดามารดาก็ดี หรือต้องการจะไปอยู่กับสามีและลูก ๆ ตามลำพังก็ดี
องค์พระมหากษัตริย์ก็จะทรงอนุญาตให้ไปได้ และจงอย่าเสียใจแต่อย่างใดเลย......
"การลาออกนี้ก็ขอให้ยื่นใบลาออกโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งมอบข้าวของคืนให้แก่สำนักพระราชวังด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงอนุญาตให้เป็นไปตามความประสงค์โดยเสรี เว้นแต่ว่าถ้ายังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ต่อไป และก่อนที่ยังมิได้ลาออกไปห้ามมิให้ติดต่อรักใคร่กับผู้ใด และห้ามมิให้มีสามีจะโดยวิธีหนึ่งวิธีใดก็ตาม ห้ามมิให้ใช้เลห์
เพทุบายแต่อย่างใด........
"ส่วนชายา หรือเจ้าจอมคนใดที่มีโอรสด้วยกับพระองค์แล้วห้ามมิให้ไปมีเหย้ามีเรือน เพราะการกระทำเช่นนั้นย่อมทำลายเกียรติของพระราชโอรส แต่อาจจะอนุญาตให้ไปอยู่กับพระราชโอรสได้ด้วยกันตามลำพัง แต่มิให้แต่งงานใหม่เป็นเด็ดขาด......
"อนึ่ง ถึงแม้จะมีประกาศซ้ำซากหลายครั้งหลายหนแล้วก็ตามก็มักไม่ค่อยมีใครเชื่อฟัง
กลับหาว่าตลกขบขันหรือเยาะเย้ยแดกดันกันไปเสีย จึงออกประกาศให้ทราบทั่วกันว่า เรื่องนี้
เป็นพระราชประสงค์ขององค์พระมหากษัตริย์ด้วยพระทัยจริง และขอให้ราษฎรทั้งหญิงชาย
ได้เชื่อว่า องค์พระมหากษัตริย์มิได้มีพระประสงค์ที่จะกีดกัน หรือกักขังเอาหญิงเหล่านี้ไว้จะ
เห็นได้จากประกาศฉบับที่แล้วของพระองค์ว่าเป็นพระราชประสงค์อันแท้จริงของพระองค์"
ท่านผู้อ่านที่ได้อ่านประกาศข้างต้นแล้ว ก็คงจะเอยปากอุทานออกมาด้วยความชื่นชม
โสมนัสได้เพียงสองคำว่า สาธุ
ก่อนที่จะจบบันทึกฉบับนี้ ได้ลองให้บัณฑิตตกงานช่วยไปตรวจสอบรายชื่อเจ้าจอม
ในรัชการที่ ๔ (สี่) ที่หอสมุุดดำรงราชานุภาพว่า ยังมีเจ้าจอมที่ชื่อว่า ทับทิม อยู่หรือหาไม่
คำตอบที่ได้รับนั้นคือ ไม่มี
เจ้าจอมมารดาที่ชื่อทับทิมนั้นมีอยู่ท่านหนึ่งเหมือนกัน แต่เป็นเจ้าจอมมารดาในรัชการ
ที่ ๕ (ห้า) ผู้ให้กำเนิดพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมภาพ ซึ่งต่มาภายหลัง
ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร อดีตเสนาบดี
กระทรวงทหารเรือ และทรงเป็นต้นตระกูล วุฒิชัย
___________________________
Sampan Chanpa
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น