โมนาลิซา (ตอนจบ)
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ มีการขโมยรูปภาพตามพิพิธภัณฑ์ กันบ้างแล้วประปราย ทางพิพิธภัณฑ์ลูฟว์จึงได้หาแผงกระจกมากันภาพสีน้ำมันที่มีราคาแพง ๆ เพื่อกันขโมย แต่เชื่อเถอะครับขึ้นชื่อว่าขโมยมันตั้งใจขโมยจนได้ละครับ การที่เอากระจกมากันทำให้พวกที่มาชมภาพเกิดความไม่พอใจเพราะมันไม่ได้อรรถรส (Poetic flavo) เล่นภาษาปากิตสักหน่อย เสียมู้ดหมดเวลาไปดูเหมือนทำให้รู้สึกเหมือนภาพเหล่านี้อยู่ในตู้กระจก
แต่แล้วก็เกิดเรื่องจนได้ เช้าวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ จิตรกรผู้หนึ่งเดินทะเล่อทะล่าเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ พร้อมกับนางแบบหน้าหวาน เพื่อจะให้นางแบบไปยืนประชันโฉมกับ
"โมนาลิซา" แต่พอไปถึงจุดที่เคยมีภาพ "โมนาลิซา" แขวนเด่นอยู่ปรากฏว่ามีแต่ความว่างเปล่า เจ้าหน้าที่เองก็ยังไม่รู้จับมือใครดมไม่ได้แปลกมันอันตรธาน (Hypochondria) ไปได้อย่างไรหว่า
เห็นแต่กรอบกระจกตกอยู่ข้างบันไดและที่อยูข้าง ๆ ก็คือกรอบรูป เจ้าหน้าที่จึงย่อมประกาศความโง่และออกแถลงการณ์ย่อมรับความอับอายขายหน้าสุดขีดว่าภาพอมตะ "โมนาลิซา"ได้ถูกขโมยเอาไปเสียแล้ว !
หนังสือพิมพ์ขายดิบขายดี เพราะใคร ๆ ก็อยากอ่านรายละเอียด คนที่ต้องพลอยรับบาปเป็นพวกแรกก็คือคนเยอรมันทั้งหมดที่อยู่ในปารีส เพราะถูกตำรวจตั้งข้อสงสัยว่าผู้ร้ายรายนี้ต้องเป็นคนเยอรมันแน่ เพราะช่วงนั้นฝรั่งเศสกับเยอรมันกำลังฮึ่ม ๆ แยกเขี้ยวเข้าใส่กันอยู่เกี่ยวกับปัญหาขัดแย้งเรื่องดินแดนในมอร็อคโค งานนี้เยอรมันโกรธมาก ฝรั่งเศสก็ไม่ใช่ย่อยกับยุยงสงเสริมพวกของตัวเองให้โกรธและเกลียดพวกเยอรมัน เรื่องทำท่าจะบานปลายไปกันใหญ่
หนังสือพิมพ์ฝรั่งฉบับหนึ่งได้เสนอตั้งรางวัลสี่หมื่นฟรั่งค์ให้แก่ผู้ที่สามารถนำภาพนี้มาส่งคืนที่สำนักงานหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น แต่ก็เงียบ ไม่มีใครรู้ว่านงนุช "โมนาลิซา" ไปแอบนอนยิ้มอยู่ที่ไหน
หนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่งเพิ่มรางวัลให้สูงขึ้นโดยเพิ่มเป็นห้าหมื่อนฟรังค์ ส่วนอีกฉบับหนึ่งซึ่งเชื่อในเรื่องเวทย์มนต์คาถาได้ลงคำขอร้อง อ้อนวอนไปถึงบรรดาคนทรงทั้งหลายให้พยายามช่วยกันหน่อยถ้าใครรู้ว่ารูปนี้ถูกซุกซ้อนอยู่ที่ไหน ก็ขอได้โปรดแจ้งให้ทางจังหวัดหรืออำเภอทราบโดยด่วนด้วย ฝรั่งเศสทั้งประเทศไม่เป็นอันทำอะไรกันแล้ว เป็นตายอย่างไรก็ต้องระดมกำลังกันทั้งตำรวจคนทรง ตาเถร ยายชี และนายอำเภอ เพื่อเอา นงนุช "โมนาลิซา" คืนมาให้จงได้
นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ประชุมเคร่งเครียดกัีนเกือบทุกวัน ในที่สุดมีนายตำรวจหัวแหลมคนหนึ่ง เสนอความคิดขึ้นว่า คนที่ขโมยเอาไปจะต้องมีความรักรูปนี้อย่างหลงใหล ไม่งั้นคงไม่กล้าเสี่ยงคุกตารางมาทำโจรกรรมขนาดมหึมาพิลึกพิลั่นแบบนี้ และคนที่รักศิลปะอย่างบ้าคลั่ง ก็จะต้องควรเป็นศิลปิน! เพราะฉะนั้นต้องเรียกศิลปินทุกคนบรรดามีมาสอบสวนให้หมด แม้แต่ปีกาสโซ ก็ถููกเชิญมาสอบปากคำในคราวนั้นด้วย
อีกสามสี่วันต่อมา ตำรวจได้หลักฐานว่า กวีเอกชื่อ อะโปลิแนร์ มีความรักฝังใจรูป "โมนาลิซา" เป็นพิเศษ ได้เคยเขียนโอดครวญพรรณนาความรักของเขาไว้เป็นกลอนหลายบท ท่านกวีเอกก็เลยซวยไป ถูกจับและถูกตำรวจสอบสวนซักไซ้อยู่หลายชั่วโมง ลงท้ายก็เหลวอีกตามเคย
สองปีผ่านไปโดยไม่มีร่องรอยว่าเจ้าโจรใจเด็ดที่แอบเอา "โมนาลิซา" ไปฝังดิน หรือซุกไวัใต้หลังคาที่ไหน
อยู่มาวันหนึ่ง พ่อค้าระดับเศรฐีชาวฟลอเรนซ์ ซึ่งประกอบธุรกิจค้า ๆ ขาย ๆ เกี่ยวกับงานศิลปะ มีลูกค้าประเภทเสี่ยใหญ่จ่ายเงินแสนโปรยปรายได้เป็นว่าเล่นถ้าเผื่อเกิดชอบใจภาพสีน้ำมันภาพหนึ่งภาพใดขึ้นมา พ่อค้างานศิลปะคนนี้ชื่อ อัลเฟร็ด เกรี มิใช่เป็นคนเกเรอะไรหรอก แก่ชื่อเกรีไปงั้นเอง อีตาเกรีแก่อยากจัดนิทรรศการศิลปกรรมครั้งใหญ่ให้เลื่องชื่อระบือไกล จึงลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ว่าผู้ใดมีรูปเขียน หรือรูปปั้นที่ดีวิเศษอยากจะขายขอให้ติดต่อมา แกจะได้รวบรวม
"ของดีวิเศษแห่งยุค" มาตั้งแสดงให้เป็นขวัญตาขวัญใจแก่ชาวโลก ทั้งนี้เพื่อความหฤหรรษ์บันเทิงสุขของผู้รู้รักศิลปะทั้งผอง (และเพื่อกระเป๋าของแกเองด้วย)
อีกสองอาทิตย์ต่อมา พ่อค้าคนนี้ได้รับจดหมายฉบับหนึ่งเขียนมาจากปารีส เจ้าของจดหมายลงชื่อสั้น ๆ แต่เพียงว่า "เล็นนารด์" บอกมาว่าเขามีรูป "โมนาลิซา" อยู่ในครอบครอง และยินดีจะขายให้ถ้าได้ราคาสูงถูกใจ เพราะต้องการให้รูปนี้กลับไปอยู่ที่อิตาลี ซึ่งเสมือนเป็นบ้านเกิดของรูปนี้
พ่อค้าเมืองฟลอเรนซ์แกอ่านจดหมายแล้วก็นึกในใจว่า เจ้าคนที่เขียนจดหมายฉบับนี้ถ้าไม่บ้าก็คงจะเมา แต่มานึกอีกทีหมอนี่อาจเป็นพ่อค้างานศิลปะระดับกระจอก ซึ่งเพิ่งจะย่างเข้ามาสู่วงการ ก็เลยถูกตุ๋นรับซื้อเอาของปลอมเข้าไว้ เพราะในยุโรปนั้นเขาปลอมภาพเขียนออกขายกันเกร่อ
แบบที่เมืองไทยก็ปลอมพระเครื่องกันยังไงยังงั้นเชียว ต้องระดับเซียนจริง ๆ จึงจะดูออกแต่โดยมรรยาท พ่อค้าเมืองฟลอเรนซ์ จึงเขียนจดหมายตอบสั้น ๆ ไปว่า เขากำลังมีธุระการงานยุ่ง ไม่สามารถจะไปปารีสได้ แต่ถ้ามาพบเขาที่ฟลอเรนซ์ได้ เขายินดีที่จะรับพิจารณาภาพนั้น และถ้าเป็นภาพ "โมนาลิซา" ของจริงละก็ เรื่องราคาขอให้วางใจเถอะเขาสู้ไม่อั้น ขอแต่เพียงเป็นของแท้ก็แล้วกัน
ทางปารีสโทรเลขตอบมาว่า จะมาเยี่ยมนายเกรี ที่ออฟฟิศ ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ นายเกรีนั้นกระหยิ่มใจอยู่ว่า ในวงการยุทธจักรศิลปะ ฝีมือเขาก็ระดับเซืยนเหยีบเมฆคนหนึ่ง ไม่ยอมให้ใครมาแหกตาเอาแน่ แต่คราวนี้พอได้รับโทรเลขก็นอนไม่หลับ ต้องไปขอแรงอธิบดีกรมศิลปากร....เอ๊ย-ไม่ใช่.....ต้องไปขอแรง จิโอวันนิ ป๊อกกี ผู้อำนวนการหอภาพ UFFZI อันมีชื่อเสียงแห่งฟลอเรนซ์ ให้มาช่วยดูกันหน่อย ต้องเผื่อกันเหนียวกันไว้ก่อน จะได้ไม่พลาด
พอถึงวันนัดหมาย ชายคนนั้นจากปารีสที่อ้างตัวเองว่าชื่อ "เล็นนาร์ด" ก็โผล่เข้ามาที่สำนักงานของนายเกรี เมื่อเวลา ๑๕.๑๕ น. หมอนี่เป็นคนร่างเล็ก อายุอานามก็คงจะสามสิบกว่า ๆ ไว้หนวดรุงรัง นัยน์ตาปรือคล้ายเพิ่งจะตืนนอน
นายเกรีแนะนำให้ "เล็นนาร์ด" รู้จักกับผู้อำนวยการหอศิลปแล้วกล่าวว่า "จะให้เราชมภาพของคุณหรือยัง?" "ไปดูกันที่โฮเต็ลดีกว่า" คือคำตอบ
โฮเต็ลที่เขาพักอยู่นั้น เป็นโฮเต็ลเล็ก ๆ ราคาถูก "เล็นนารด์" เดินนำหน้าพาคนทั้งสองขึ้นไปถึงชั้นสาม พอเข้าไปในห้องพักแล้วเขาก็ล็อกประตูด้วยความรอบคอบ
นายเกรีมือไม้สั่นไปหมด ขณะที่จ้องดู "เล็นนาร์ด" เดินตรงรี่ไปที่เตียงนอน แล้วก็ดึงเอาลังไม้สีขาวออกมาจากใต้เตียง ในลังใบนั้นรุงรังไปด้วยสิ่งซึ่งควรจะเรียกว่าเศษขยะมากกว่า คือมีรองเท้าเก่า ๆ ขาดแล้วหกเจ็ดคู่ หมวกที่เก่าสกปรกยับยู่ยี่หนึ่งใบ เศษผ้าเก่า ๆ กะรุงกะริ่งอีกเยอะแยะและมีแม้กระทั้งแมนโดลิน เจ้าของรื้อของต่าง ๆ กระจุยกระจายเอาออกมาวางไว้นอกลังแล้วก็ล้วงลึกลงไปก้นลังอีกที คราวนี้ควักเอาของอย่างหนึ่งออกมา ซึ่งหอเอาไว้ด้วยผ้าไหมสีแดง
เขาค่อย ๆ บรรจงวางลงบนเตียงอย่างทะนุถนอม และพอเอาผ้าคลุมสีแดงออกแล้ว อนงค์นาง
"โมนาลิซา" ก็เผยรอยยิ้มอันทรงเสน่ห์ออกมา !
นายเกรีพ่อค้าชาวฟลอเรนซ์ ประคองอุ้มภาพนั้นไปที่หน้าต่างประสงค์จะดูให้เต็มตา และเปรียบเทียบกับภาพถ่าย ซึ่งได้เตรียมเอาติดตัวมาด้วย
ให้ตายเถอะ ! ของแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์เลย ! หันไปขอความเห็นท่านผู้อำนวยการหอศิลป์ว่า
"ว่าไงครับท่าน ?...มีอะไรหน้าสงสัยไหมครับ ?"
ท่านผู้อำนวยการหอศิลป์ ผู้เจนจบวิทยายุทธ์ในทุกกระบวนท่าของศิลปะ พยักหน้าหงึก ๆ ว่า
"ไม่น่าเชื่อเลยจริง ๆ ...แต่ก็ต้องยอมรับว่านี่คือของแท้...คุณดูนี่สิ...หมายเลขแค็ตตาล็อกของลูฟว์ตรงกันกับในรูปถ่ายเปี๊ยบเลย"
เล็นนาร์ดบอกว่า เขาขอห้าแสนลีร์ สำหรับรูปนี้ (ประมาณหนึ่งแสนเหรียญอเมริกัน ถ้าคิดเทียบกับเงินตอนนั้น)
"เราย้ายภาพนี้ไปที่หอศิลปของผมดีกว่า จะได้ส่องดูและพิจารณาตรวจตรากันให้ถนัดถนี่กว่านี้" ท่านผู้อำนวยการว่าและเล็นนาร์ดก็ไม่ขัดข้อง
ทั้งสามคนจึงลงจากห้องพร้อมกันกับห่อของ พอลงมาถึงชั้นล่าง พนักงานของโฮเต็ลร้องตะโกนออกมาว่า
"อย่าเพึ่งไป...จะหอบของออกไปแบบนี้ไม่ได้นะ!....ที่หอบเอาไปน่ะอะไร ?"
เล็นนาร์ดตอบว่า ในนี้คือรูปภาพ เราจะเอาไปที่หอศิลป์...อย่ากลัวไปหน่อยเลย เราไม่หนีไปไหนหร็อกน่ะ"
พนักงานหญิงของโฮเต็ลจำหน้าท่านผู้อำนวยการใหญ่ได้ แบบคนไทยย่อมจำหน้าท่านสุภัทรดิศ ดิศกุลได้ทุกคน จึงยอมให้คนทั้งสามออกไปจากโฮเต็ลได้
นายเกรีพ่อค้าชาวฟลอเร็นซ์หัวเราะครึกครื้นเมื่อพ้นออกมาจากโฮเต็ลแล้ว และพูดว่า "ถ้าหากยามของพิพิธภัณฑ์ลูฟว์จะมีความอยากรู้อยากเห็นเช่นเดียวกับพนักงานโฮเต็ลคนนนี้ละก็....."โมนาลิซา" ก็คงไม่มีโอกาสได้มาฟลอเร็นซ์หร็อก!"
บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางศิลปต่างมากันแน่นหอศิลป เพื่อจะมาพิสูจน์ว่ารูปนี้เป็นของแท้หรือของปลอมกันแน่ แต่แล้วทุกคนก็ต้องยอมรับว่าแท้ ดังนั้นหนังสือพิมพ์จึงออกข่าวกันไปทั่วโลกว่า บัดนี้ได้พบ
"โมนาลิซา" ยอดเสน่ห์แล้ว
พอค้าชาวฟลอเร็นซ์ผู้นั้นสุดแสนจะตื่นเต้น เขาพยายามตระเตรียมการอย่างดีเป็นพิเศษ เพื่อจะเอาภาพอมตะของลีโอนาโด ดาวินซี ภาพนี้ไปตั้งโชว์ในงานนิทรรศการของเขา ถึงแม้เขาจะรู้อยู่แก่ใจว่าหลังจากสิ้นสุดการแสดงแล้วก็ต้องคืนภาพนี้กลับไปให้พิพิธภัณฑ์ลูฟว์
ฝ่ายเล็นนาร์ด ก็ถูกตำรวจเชิญตัวถึงในห้องพักที่โฮเต็ล เขามิได้ขัดขืนแต่อย่างใด เดินตามอธิบดีกรมตำรวจไปโดยดี
เขาลงชื่อไว้ในแบบฟอรม์ของโฮเต็ลว่าVincenzo Leonardo แต่จากการสอบสวนได้ความว่า เขามีนามจริงว่า วินเซ็นโซ เปรูยา เกิดทางตอนเหนือของอิตาลี
เขาถูกนำตัวไปยังห้องขัง และเมื่อตำรวจซักว่า ทำไมจึงได้บังอาจขโมย "โมนาลิซา" เขาตอบชัดถ้อยชัดคำว่า "เพื่อเกียรติภูมิของอิตาลี....และเพื่อแก้แค้นนะโปเลียนที่มาขโมยเอาภาพนี้ไปจากอิตาลี.....ผมไม่ใช่โจรนะครับคุณตำรวจ นะโปเลียนต่างหากที่เป็นทั้งโจรและขโมย !"
แน่ะ....เอากะพ่อซี !
การพิจารณาคดีนี้ครึกโครมเกรียวกราวมาก อัยการขอให้ศาลลงโทษจำคุกจำเลยสามปี แต่ศาลพิพากษาให้จำคุกเพียงหนึ่งปีกับสิบห้าวัน (ผมขอเสนอหน่อยเกี่ยวกับอัยการความจริงมีไว้เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาจากหนักเป็นเบา นี่ดันเล่นหนักกว่าผู้พิพากษาเสียอีกผมไม่สงสัยแล้วว่าทำไมจึงต้องให้วิ่งอัยการ 55555)
"คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง" นักข่าวถามเขา เมื่อได้ฟังคำพิพากษาแล้ว
"ผมนึกว่าจะโดนหนักกว่านี้ซะอีก...." เขาตอบช้า ๆ แล้วพูดดังแบบนักเลงท่าเรือว่า " ผมทำลงไปเพราะความรักชาติจริง ๆ ควรจะให้เหรียญตราผมจึงจะถูก"
จำเลยยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็คงทั้งสงสารและเห็นใจจึงลดโทษให้ คงเหลือจำคุกเพียงเจ็ดเดือน
มีข่าวไม่เป็นทางการว่า "อีตาเปรูยา ที่ขโมยรูป "โมนาลิซา" แกไม่ได้บ๊องหรือไม่เต็มเต็งหรอก.....เพราะเมื่อออกจากคุกแล้วแกก็ได้แต่งงาน.......ถ้าแกบ้า ผู้หญิงคนไหนเขาจะยอมแต่งงานด้วยละ
____________________________________
Sampan Chanpa